คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่ |
Arduino Uno R3 เป็นบอร์ดนี้นิยมใช้งานมากที่สุดในบรรดาบอร์ดของ Arduino บอร์ดนี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน
คุณสมบัติทั่วไป
- ราคาถูกเมื่อเทียบกับบอร์ดตัวอื่นแถมหาซื้อง่าย หลายเว็บไซต์มีขายรุ่นนี้เป็นหลัก
- มีคนใช้มากทำให้มี Tutorial ต่างๆบนเว็บไซต์ทั้งในและต่างประเทศมากมาย หนังสือและบทเรียนที่สอนเกี่ยวกับ Arduino ก็สาธิตการทำงานด้วยบอร์ด UNO R3 มากมาย
- Library มีแจกกันบนเว็บไซต์ โดยมากก็ใช้กับ UNO ได้เลยโดยไม่ต้องมีการดัดแปลง
- จำนวนขา Analog Input 6 ช่อง Digital Input 14 ช่อง Flash memory 32 KB ใช้กับ USB ได้ทันทีทั้งไฟเลี้ยงและการโปรแกรม เหมาะสำหรับมือใหม่เพราะจำนวน ช่อง Input ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป
- Shield ส่วนใหญ่ออกแบบให้มีขนาดเท่ากับ UNO R3 ทำให้สามารถต่อทับไปบนตัว UNO ได้พอดีไม่ขาดไม่เกิน
- ระดับแรงดันทำงานของ port 5 V
คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่ |
Arduino MEGA2560 ADK เป็นบอร์ดรุ่นใหม่
ในตระกูลของ Arduino โดยเพิ่มความสามารถ ในการเชื่อมต่อสื่อสาร
สั่งงานบอร์ด Arduino ผ่าน อุปกรณ์ Android OS ต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ
หรือแท๊บเล็ต
คุณสมบัติทั่วไป
- ใช้ ATMEGA2560 เป็น MCU ประจำบอร์ด, RUN ความถี่ 16 MHz, 100PIN TQFP
- 256 KBYTE FLASH ในการใช้เขียนโปรแกรม (8 KBYTE สำหรับ BOOTLOADER) / 8 KBYTE SRAM / 4 KBYTE EEPROM
- รองรับการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา C++ ของ Arduino ตามแบบ Arduino MEGA ได้ 100%, รองรับ การทำงานบน คอมพิวเตอร์ พีซี ทั้ง WINDOWS, LINUX และ MACINTOSH OSX
- ขั้วต่อ USB MINI ใช้ USB BRIDGE ของ FTDI เบอร์ FT232RL สำหรับใช้ติดต่อสื่อสาร และ DOWNLOAD ข้อมูล CODE ที่เขียนจากคอมพิวเตอร์มายังตัวบอร์ด โดยไม่ต้องซื้ออุปกรณ์บอร์ด DOWNLOAD ใดๆ เพิ่มเติม, เพิ่มขั้วต่อ 6 PIN สำหรับปรับใช้งาน PROGRAM ตรงเข้า MCU โดยไม่ต้องผ่านโปรแกรม BOOTLOADER ของ Arduino
- 54 PIN DIGITAL I/O (5V TTL LOGIC) โดยมี
- 14 PIN สามารถทำการโปรแกรมหน้าที่ให้เป็น PWM ได้
- 16 PIN ANALOG INPUT (เป็น A/D ขนาด 10 BIT 16 ช่อง)
- 4 PORT UART (โดยเป็น HARDWARE SERIAL PORT) แบบ 5V TTL LOGIC
- 1 HARDWARE TWI (I2C) - 1 HARDWARE SPI (UP TO 8 MBPS)
บอร์ดชนิดนี้มีขนาดใหญ่กว่า UNO ครับ แต่การทำงานส่วนใหญ่คล้ายกัน จะมีความต่างๆในรายละเอียดเล็กนัอย
ข้อแตกต่างระหว่าง Arduino UNO R3 กับ Arduino MEGA2560 ADK
- MEGA2560 ADK มีจำนวน Analog Input port 16 ช่อง Digital Input 54 ช่อง PWM 4 ช่อง Flash memory 256 kB ซึ่งมากกว่า UNO R3
- MEGA2560 ADK ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์คือ ATmega2560 Clock 16 MHz และ UNO R3 ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์คือ ATmega328 Clock 16 MHz
- ระดับแรงดันทำงานของ port 5 V ทั้งคู่
- Shield ส่วนใหญ่พอใช้กันได้ แต่อาจจะมีขนาดไม่เท่ากัน แต่ถ้าเสียบลงแล้ว Pin ขั้นต้นที่มีให้จะเรียงตัวเหมือนกันกับ UNO ทำให้พอใช้งานกันได้ แต่อาจจะต้องปรับ Sketch ที่เขียนด้วยให้มี Pin ตรงกับบอร์ด MEGA นี้ครับ
- MEGA2560 ADK มีราคาค่อนข้างแพงกว่า Arduino UNO R3 อยู่ 2-3 เท่าตัว
ตารางเปรียบเทียบสเปค Arduino R3 vs ArduinoMEGA2560 ADK
คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่ |
สรุป
- Arduino UNO R3 เหมาะกับผู้เริ่มต้นที่ต้องการศึกษาการทำงานของไมโครคอลโทลเลอร์ชนิดนี้ หรือต้องการใช้งานกับโมดูลต่างๆ อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าเกือบ 2-3 เท่า
- Arduino MEGA2560 ADK บอร์ดนี้ความเร็วเท่าก้บ UNO R3 จำนวน Port มากกว่าเยอะ Flash memory ก็มากกว่า ทำให้ใส่ Sketch ขนาดใหญ่กว่าได้ แต่ระดับแรงดันทำงานเท่ากัน ทำให้ Sensor ต่างๆ ใช้งานด้วยกันกับ UNO ได้ครับ เหมาะกับการใช้งานในโปรเจคที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่า UNO และที่เพิ่มขึ้นมาอีกอย่างที่เป็นเหมือนลูกเล่นคือ มีเพิ่ม Port ที่มีไว้ติดต่อกับ Android device โดยมาพร้อมกับ IC ประเภทที่ทำให้บอร์ดนี้สามารถต่อสายมาที่บอร์ดและใช้สั่งการผ่าน Android phone หรือ Android Tablet ได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่าน Internet
อ้างอิงจากเว็บไซต์ : http://www.arduitronics.com/article/arduinos-boards-buying-guide
ถ้าใช้อ่านพอร์ต OBD II อ่านค่าเครื่องยนต์
ตอบลบใช้ R3 หรือ MEGA2560 ดีกว่ากัน หรือพอ ๆ กันครับ